HotelTourism


บทความ

การต้อนรับและสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยว

การต้อนรับนักท่องเที่ยวก็เหมือนการให้บริการแก่ลูกค้า การที่จะทำให้นักท่องเที่ยวพึงพอใจและอยากกลับมาเที่ยวอีกครั้งนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการต้อนรับที่ดีและการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว

            บริ    หรือ  ปริ แปลว่า   กว้างใหญ่

            การ  แปลว่า    การกระทำ

            บริการ   แปลว่า  การกระทำที่กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต

งานบริการ  คือ งานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนทั้งในด้านของความคิดและความรู้สึก โดยตั้งอยู่บนเงื่อนไขของการที่กระทำให้ฝ่ายรับได้รับความสะดวก ถูกต้องด้วยอัธยาศัยที่ดี

 ความสำคัญของการต้อนรับ

การต้อนรับเป็นด่านแรกของการตลาดโดยให้บริการจากความประทับใจครั้งแรกในการต้อนรับที่ดี จะทำให้เกิดความรู้สึกดีต่อสินค้าและบริการแล้วยังส่งผลดีต่อหน่วยงานด้วยเพราะจะเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีและเป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานโดยตรง และเกิดความเข้าใจอันดีอีกด้วยซึ่งหากจะเปรียบนักท่องเที่ยวเสมือนลูกค้าและธุรกิจการท่องเที่ยวก็เหมือนหน่วยงาน หากต้อนรับไม่ดีก็จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากกลับมาใช้บริการอีกแต่ถ้าหากต้อนรับดีนักท่องเที่ยวก็อยากกลับมาใช้บริการเช่นกัน

หลักในการต้อนรับ

  1. การสร้างความเป็นมิตรอบอุ่นใจ
  2. การให้ความสะดวกสบาย
  3. การให้ข้อมูลข่าวสาร
  4. การปฏิบัติงานตามคำขอร้อง
  5. การให้ความช่วยเหลือตามควร

การต้อนรับมีทั้งทางตรงและทางอ้อมอาจเคยพบหรือไม่เคยเลยแต่มีอุปกรณ์สื่อส่ารเช่น โทรศัพท์

คุณสมบัติของผู้ทำงานต้อนรับ

  • แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย
  • กริยาวาจาสุภาพนุ่มนวล
  • ใจเย็นอดทนอดกลั้น
  • ยิ้มแย้มแจ่มใส
  • มีมิตรไมตรี
  • ทักทายถูกต้องเหมาะสม
  • เอาใจใส่ และจริงใจ
  • พร้อมตอบคำถาม
  • ช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิดขัดข้อง
  • มีบุคลิกภาพดี

ลักษณะการต้อนรับที่ดี

  1. ยิ้มทักทายให้รู้สึกชุ่มช่ำ
  2. แสดงความสนใจและให้ความสำคัญ
  3. กระตือรือร้นในการรับฟัง และตอบข้อซักถาม
  4. มีอัธยาศัยไมตรีอบอุ่น
  5. ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม

โดยพิจารณาจากพื้นฐานต้องมีความรู้สึกยินดีต้อนรับ((Welcome) ต้องให้ความสำคัญ ให้ความสะดวกสบายและเอาใจใส่ดูแลอย่างทัดเทียม

การปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในการต้อนรับ

  • ทางกาย  ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสดชื่นไม่เซื่องซึม ทะมัดทะแมง กระฉับกระเฉง แต่งกายเรียบร้อย กริยาสุภาพ
  • ทางวาจา  ต้องใช้ถ้อยคำที่ชวนฟัง เสียงไพเราะ ชัดเจน พูดมีหางเสียง ขานรับพอเหมาะ กล่าวต้อนรับ พูดแต่น้อย ฟังให้มากไม่พูดแทรก ไม่กล่าวตำหนิ พูดย้ำสิ่งที่เขาต้องการอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
  • ทางใจ   ต้องทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส ยินดีที่จะต้อนรับ หรือพบปะกับคนแปลกหน้า ไม่ปล่อยใจให้หม่นหมอง ใจลอยขาดสมาธิในการทำงาน เศร้าซึม เบื่อหน่าย หรือ เซ็ง  การปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น กาย วาจา ใจ ก็ต้องสอดคล้องประสมประสานกัน เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ความพอใจของผู้มาติดต่อ ความประทับใจในการต้อนรับที่ทำให้เป็นที่กล่าวขวัญในทางที่ดีนั่นเอง

ข้อควรระวังในการต้อนรับ

  - สีหน้าที่แสดงความหงุดหงิดรำคาญใจ  L

‚  - การพูดที่มีกลิ่นปาก    —

ƒ  - การทำเสียงไม่พอใจ   

„  - เผลอพูดตำหนิผู้มาติดต่อ

…  - ชวนพูดคุยมากเกินไปและไปจากผู้มาติดต่อ โดยไม่พูดขอตัวก่อน

‡  - พูดกระเซ้าเย้าแหย่จนเกินไป เหมือนทำกับเพื่อนฝูง

  - ทำหน้าตาเคร่งเครียดหรือปั้นปึ่ง เย็นชา

‰  - จัดเครื่องแต่งกายหวีผมแต่งหน้าต่อหน้านักท่องเที่ยว

Š  - ไม่ใส่ใจคำร้องขอของผู้ใช่บริการ

Š  - พูดดุ สั่งการผู้อื่นจนดูเป็นการอวดอำนาจ

การกลับมาของนักท่องเที่ยว

  1. แหล่งท่องเที่ยว   ที่ยังคงสภาพสวยงาม ไม่ถูกทำลาย  สิ่งอำนวยความสะดวกครบและสะอาด
  2. การบริการจากบุคลากร  เช่นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น  เจ้าหน้าที่อุทยาน บุคลากรในร้านอาหาร ที่พัก  เป็นต้น 
  3. เทศกาลประเพณี  ซึ่งจะเป็นรอบระยะเวลา  ปีละ  1  ครั้ง
  4. การกลับมาใช้บริการเฉพาะเรื่อง  เช่น การกลับมาตีกอล์ฟ  เรือใบ  ตกปลา  การบริการทางการแพทย์

 สรุป 

   'คนที่มีหัวใจบริการ คือ คนที่มีใจรักและชอบที่จะให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ รู้จักเกรงใจผู้อื่นและสนใจและเอาใจใส่ต่อความรู้สึกคนอื่นซึ่งถ้าจะทำอะไรจะต้องคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น    คนที่มีหัวใจบริการเท่านั้นจะทำงานบริการได้ดีเพราะงานที่บริการเป็นงานละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยหัวใจสัมผัสโดยเฉพาะจึงจะสามารถจับจุดและสนองความพอใจให้กับลูกค้าอย่างมั่นใจ”


RCBAT-KM © 2013 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา 197 ถนนเพชรมาตุคลา ตำบลมะเริง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044 - 220866 โทรสาร 044 - 220867


Generated 0.034372 sec.