sirichai


แผนการเรียนรู้ที่ 8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8

 

รหัสวิชา  3211 – 2003                                  วิชา  การบริการลูกค้า

หน่วยที่  8           ชั่วโมงที่  40-45  ชื่อหน่วย    หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

 

 แนวคิด  

          การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นหลักการเบื้องต้นของการอยู่ร่วมกันและสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่นได้ในสังคม ในองค์กรต่างๆ จะพบว่ามนุษย์สัมพันธ์มีบทบาทในการบริหารและการติดต่อประสานงาน ซึ่งถือเป็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่จะต้องติดต่อสื่อสาร

            มนุษย์สัมพันธ์ต้องอาศัยจิตวิทยาจึงจะทำให้ทราบถึงธรรมชาติ จิตใจและความต้องการของมนุษย์ และนำความจริงต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อไปโดยการติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์จะอาศัยความเคยชินหรือการติดต่อกันตามธรรมชาติเท่านั้นแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  ประโยชน์ก็จะเกิดกับองค์กรอย่างมาก ดังนั้นการพัฒนาตนเองในด้านมนุษย์สัมพันธ์ย่อมจะมีประโยชน์ต่อชีวิตครอบครัว สังคม และหน้าที่การงานต่อไป

 สาระการเรียนรู้

          1.   ความหมายความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

          2.  วัตถุประสงค์ของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

          3. องค์ประกอบในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

          4.  มนุษย์สัมพันธ์กับการทำงาน

          5.  คุณลักษณะของผู้บริหารที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

          6.  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

          7.  บทบาทของมนุษย์สัมพันธ์ในธุรกิจอุตสาหกรรม

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

          1.   อธิบายความหมายความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์ได้

          2.  บอกวัตถุประสงค์ของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานได้

          3. บอกองค์ประกอบในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ได้

          4.  อธิบายมนุษย์สัมพันธ์กับการทำงานได้

          5.  บอกคุณลักษณะของผู้บริหารที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีได้

          6.  อธิบายการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานได้

          7.  อธิบายบทบาทของมนุษย์สัมพันธ์ในธุรกิจอุตสาหกรรมได้

          8.   มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่อาจารย์สามารถสังเกตเห็นได้ในด้านความมีมนุษย์สัมพันธ์ ความมีวินัย ความรับผิดชอบความเชื่อมั่นในตนเอง ความสนใจใฝ่รู้ ความรักสามัคคี  ความกตัญญูกตเวที

 เนื้อหาสาระ

      ความหมายความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

            - ด้านจิตวิทยา

            -  ด้านสังคมวิทยา

        

ความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

  1. ด้านการดำเนินชีวิติ
  2. ด้านการบริหารจัดการ
  3. ด้านเศรษฐกิจ
  4. ด้านการเมือง

วัตถุประสงค์ของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

  1. ทำให้ผู้อื่นให้ความร่วมมือ
  2. ทำให้คนงานเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
  3. ทำให้เกิดความพึงพอใจจากการทำงาน

องค์ประกอบในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

  1.  การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
  2. การเข้าใจตนเอง
  3. การเข้าใจบุคคลอื่น
  4. การเข้าใจสภาพแวดล้อมในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

  1. หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
  2. หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้เพื่อนร่วมงาน
  3. หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
  4. หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับชุนชนหรือลูกค้า

การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในธุรกิจอุตสาหกรรม

  1.  ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  2. การรับรู้
  3. ทัศนคติที่มีต่อตนเองและผู้อื่น

  กิจกรรมการเรียนการสอน

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

          1.  ครูให้นักศึกษาประเมินบุคลิกภาพภายในที่ดีภายในที่ไม่ดีและบุคลิกภายนอกที่ดีและไม่ดีของตนเอง  บอกมาประมาณ 4 ข้อ พร้อมทั้งถามนักศึกษาว่าจะมีผลต่อการทำงานขายอย่างไร

            ขั้นสอน

          2.  ครูสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

          3.  ครูแบ่งนักศึกษาออกเป็น 4-5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ โดยจำลองเหตุการณ์แสดงพฤติกรรมการทำงาน แล้วให้กลุ่มที่นั่งดูอยู่วิเคราะห์บุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพนอกว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

          4.  นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ถึงหลักมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน

          5.  นักศึกษาซักถามข้อสงสัยจากครู

          6.  นักศึกษาทำแบบประเมินผลหลังการเรียนรู้หน่วยการเรียนที่ 8

          7.  นักศึกษาปฏิบัติตามแบบประเมินตามสภาพจริง   

          8.  นำผลงานทุกชิ้นส่งอาจารย์อาจารย์

              ขั้นสรุปและการประยุกต์

          7.  ครูและนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน อีกครั้งหนึ่ง

          8.  ครูสุ่มถามนักศึกษาเป็นรายบุคคล

          9.  นำผลงานทุกชิ้นส่งครู

 สื่อการเรียนการสอน

          หนังสือเรียนวิชาการบริการลูกค้า

 การวัดและการประเมินผล

          วิธีวัดผล

          1.  ตรวจแบบประเมินตามสภาพจริง

          2.  ตรวจแบบประเมินผลหลังการเรียนรู้หน่วยการเรียนที่ 8

          3.  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล

          4.  สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

          5.  สังเกตและประเมินผลพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

          เครื่องมือวัดผล

          1.  แบบประเมินตามสภาพจริง

          2.  แบบประเมินผลหลังการเรียนรู้หน่วยการเรียนที่ 8

          3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล   

          4.  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 

          5.  แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันประเมิน 

          เกณฑ์การประเมินผล

          1.  เก็บผลงานจากแบบประเมินตามสภาพจริงไว้เป็นหลักฐานเพื่อเป็นคะแนนเก็บส่วนหนึ่งในปลายภาค

          2.  นักศึกษาต้องทำแบบประเมินผลหลังการเรียนรู้ถูกต้องอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์

          3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคลต้องไม่มีช่องปรับปรุง

          4.  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มนักศึกษาต้องเกิดพฤติกรรมทั้ง 5 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์

          5.    แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คะแนนขึ้นอยู่กับการประเมินตามสภาพจริง

 

 

 


RCBAT-KM © 2013 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา 197 ถนนเพชรมาตุคลา ตำบลมะเริง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044 - 220866 โทรสาร 044 - 220867


Generated 0.028189 sec.