sirichai


แผนการเรียนรู้ที่ 10

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10

 

รหัสวิชา  3202 – 2006     วิชา  พฤติกรรมผู้บริโภค

หน่วยที่  5     ชั่วโมงที่  28-30  ชื่อหน่วย    มูลเหตุจูงใจซื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

 แนวคิด

          การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแต่ละครั้งต้องมีมูลเหตุจูงใจให้ผู้บริโภคปฏิบัติเช่นนั้น ซึ่งบางครั้งผู้บริโภคอาจมีการซื้อเพื่อสนองความต้องการของร่างกายอย่างซื้ออาหารเพื่อทำให้ความหิวหมดไป ซื้อบ้านเพื่อต้องการมีที่อยู่ ซื้อยาเพื่อบรรเทาอาการป่วย หรือซื้อเสื้อผ้าเพื่อปกปิดร่างกาย เหล่านี้จัดเป็นมูลเหตุจูงใจซื้อทางตรง กล่าวคือเมื่อร่างกายเรียกร้องจึงต้องมีการตอบสนอง อีกกรณีหนึ่ง เมื่อมนุษย์สามารถสนองความต้องการของร่างกายหรือความต้องการทางชีวภาพได้แล้ว ก็จะเกิดความต้องการอย่างอื่นขึ้นมาอีก จึงต้องซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการเหล่านั้น อาทิเช่น ต้องการความปลอดภัย ต้องการการยอมรับ ต้องการความภาคภูมิใจ และต้องการความสำเร็จในชีวิต การตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการเหล่านี้เป็นมูลเหตุจูงใจซื้อทางอ้อม แต่ทั้งนี้มูลเหตุจูงใจทั้งหลายอาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อสภาวการณ์เปลี่ยนไป

 สาระการเรียนรู้

          5.  การกระตุ้นมูลเหตุจูงใจ

          6.   การวิจัยมูลเหตุจูงใจ

          7.   มูลเหตุจูงใจกับการตลาด

          8.   สภาวะที่ผันแปรของการจูงใจ

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

          5.  บอกวิธีการกระตุ้นมูลเหตุจูงใจได้

          6.  บอกผลการวิจัยมูลเหตุจูงใจได้

          7.  อธิบายรายละเอียดของมูลเหตุจูงใจกับการตลาดได้

          8.  บอกสภาวะที่ผันแปรของการจูงใจได้

          9.  มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่อาจารย์สามารถสังเกตเห็นได้ในด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสนใจใฝ่รู้ ความรักสามัคคี  ความกตัญญูกตเวที


 กิจกรรมการเรียนการสอน

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

          1.  อาจารย์ให้นักศึกษาบอกสินค้าที่นักศึกษาซื้อโดยมีความจงรักภักดีต่อตรายี่ห้อ

          ขั้นสอน

          2.   อาจารย์สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการกระตุ้นมูลเหตุจูงใจ การวิจัยมูลเหตุจูงใจ มูลเหตุจูงใจกับการตลาด และสภาวะที่ผันแปรของการจูงใจพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

          3.  นักศึกษาวิเคราะห์ตนเอง ว่ามีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้มูลเหตุจูงใจเปลี่ยนไป พร้อมทั้งเล่าให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน

          4.   อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัย

          5.  นักศึกษาปฏิบัติตามแบบประเมินตามสภาพจริง

          6.   นักศึกษาทำแบบประเมินผลหลังการเรียนรู้หน่วยการเรียนที่ 5

          ขั้นสรุปและการประยุกต์

          7.   อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการกระตุ้นมูลเหตุจูงใจ การวิจัยมูลเหตุจูงใจ มูลเหตุจูงใจกับการตลาด และสภาวะที่ผันแปรของการจูงใจที่ได้เรียนไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง

          8.  อาจารย์สุ่มนักศึกษาตอบคำถามเป็นรายบุคคล

          9.   นำผลงานทุกชิ้นส่งอาจารย์

 สื่อการเรียนการสอน

          หนังสือเรียนวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค

 การวัดและการประเมินผล

          วิธีวัดผล

1.   ตรวจแบบประเมินตามสภาพจริง

2. ตรวจแบบประเมินผลหลังการเรียนรู้หน่วยการเรียนที่ 5

3.   สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล

4.   สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

5.   สังเกตและประเมินผลพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

          เครื่องมือวัดผล

1.   แบบประเมินตามสภาพจริง

2. แบบประเมินผลหลังการเรียนรู้หน่วยการเรียนที่ 5

3. แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล (ภาคผนวก ข)

4.   แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ภาคผนวก ค)

5.   แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันประเมิน (ภาคผนวก จ)

     

เกณฑ์การประเมินผล

1.  เก็บผลงานจากแบบประเมินตามสภาพจริงไว้เป็นหลักฐานเพื่อเป็นคะแนนเก็บส่วนหนึ่งในปลายภาค

2.   นักศึกษาต้องทำแบบประเมินผลหลังการเรียนรู้ถูกต้องอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์

3.   แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคลต้องไม่มีช่องปรับปรุง

4.   แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม นักศึกษาต้องเกิดพฤติกรรมทั้ง 5 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์

5.   แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คะแนนขึ้นอยู่กับการประเมินตามสภาพจริง

    

บันทึกหลังการสอน

         



RCBAT-KM © 2013 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา 197 ถนนเพชรมาตุคลา ตำบลมะเริง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044 - 220866 โทรสาร 044 - 220867


Generated 0.027860 sec.