chatchanok Article


การท่องเที่ยว

สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ปัจจัยที่ทำให้คนไทยไม่เที่ยว”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดทำ “โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (Public Opinion: Poll) ที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยว” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับทราบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกระแสนิยมต่างๆ อันจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งข้อมูลที่ได้รับสามารถนำมาประมวลผลกับสถานการณ์ด้านอื่นๆ รวมถึงนำไปปรับใช้กับการดำเนินด้านการตลาดของ ททท. ในอนาคต

สำหรับการสำรวจครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 หัวข้อการสำรวจ คือ “ปัจจัยที่ทำให้คนไทยไม่เที่ยว” โดยสำรวจจากประชาชนทั่วไป จำนวน 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2556


 

สรุปสาระสำคัญจากการสำรวจ 

  1. ทัศนะของคนไทยต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย พบว่ากว่าร้อยละ 40 ของคนไทยเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าท่องเที่ยวมากถึงมากที่สุด และเมื่อให้โอกาสเลือกเดินทางท่องเที่ยว คนไทยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 80.4 เกี่ยวกับความน่าสนใจของประเทศไทยในการเลือกเดินเลือกเดือนทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ขณะที่ ร้อยละ 19.6 เลือกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
  2. สำหรับความคุ้มค่าระหว่างการเลือกเดินทางระหว่างในประเทศ และต่างประเทศ คนไทยส่วนใหญ่ ร้องละ 49.1 มองว่ามีความคุ้มค่าพอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 14.2 มองว่า เมืองไทยคุ้มค่าน้อยกว่าการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และร้อยละ 36.6 มองว่าไทยคุ้มค่ามากกว่า นอกจากนี้  ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อ 1 ครั้งนั้น  ร้อยละ 51.8 เห็นว่าเมืองไทยใช้จ่ายน้อยกว่า ร้อยละ 25.5 เห็นว่า ค่าใช้จ่ายพอๆ กัน และร้อยละ 22.7 เห็นว่าเมืองไทยใช้จ่ายมากกว่า
  3. เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบความรู้สึกระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ กับการท่องเที่ยวภายในประเทศ พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.6 รู้สึกไม่แตกต่างกัน ขณะที่อีก ร้อยละ 34.0 รู้สึกดีกว่าการท่องเที่ยวในประเทศไทย เนื่องจากมีโอกาสได้เห็นสิ่งใหม่และรับรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ  ซึ่งหากมีโอกาสที่เหมาะสม คนไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.6 จะเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
  4. เมื่อให้เลือกการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าจะเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวภูเก็ตมากกว่าต่างประเทศถึงร้อยละ 89.6 ขณะที่ประเทศที่คนไทยเลือกจะเดินทางไปมากที่สุด คือ จีน รองลงมา คือ เวียดนาม และสิงคโปร์
  5. คนไทยเกือบร้อยละ 10 มีประสบการณ์ในการเดินทางไปยังประเทศเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ และเมื่อให้เปรียบเทียบสถานที่ท่องเที่ยวของไทยกับต่างประเทศ พบว่า ร้อยละ 3.6 ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ร้อยละ 32.7 และร้อยละ 12.7  มองว่ามีความแตกต่างกันมากถึงมากที่สุด นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.6 มองว่าประเทศไทยแย่กว่า ขณะที่ ร้อยละ 14.5 มองว่าประเทศไทยดีกว่า
  6. จากประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเมื่อให้เปรียบเทียบปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย กับต่างประเทศ พบว่า สิ่งที่ประเทศไทยแย่กว่าต่างประเทศมากที่สุด คือ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนสิ่งที่ประเทศดีกว่าเป็นเรื่องของความคุ้มค่าในการท่องเที่ยว
  7. คนไทยส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 เคยเดินทางไปท่องเที่ยวนอกจังหวัดที่อยู่อาศัย และสำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์เดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุด ทะเล น้ำตก และภูเขา ส่วนแหล่งธรรมชาติอย่างน้ำพุร้อน คนไทยยังมีประสบการณ์เดินทางไปท่องเที่ยวน้อยที่สุด
  8. เมื่อสอบถามถึงความต้องการกลับไปเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวเดิม พบว่า ร้อยละ 89.5 คิดว่าจะกลับไปเที่ยวอีก ด้วยเหตุผลของการเดินทางที่สะดวกและสถานที่ที่สวยงาน ในขณะที่ร้อยละ 10.5  คิดว่าไม่กลับไปเที่ยวอีกแน่นอน เนื่องจากไม่ชอบคนเยอะ สถานที่รองรับไม่เพียงพอ สถานที่เสื่อมโทรม และผู้ให้บริการไม่ยินดีต้อนรับคนไทย
  9. จังหวัดที่คนไทยไม่อยากไปท่องเที่ยวมากที่สุด คือ นราธิวาส ยะลา เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัย และกรุงเทพฯ เป็นอีกจังหวัดที่คนไม่อยากไป เนื่องจากปัญหารถติด วุ่นวาย และคนเยอะ
  10. จังหวัดที่ยังไม่เคยไปแล้วอยากไปมากที่สุด คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ และเพชรบูรณ์
  11. จังหวัดที่ไปแล้วอยากไปอีก คือ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และชลบุรี
  12. จังหวัดที่ท่านไปแล้ว ไม่อยากไปอีก คือ ชลบุรี กรุงเทพฯ และสระแก้ว
  13. สิ่งที่ปรารถนาจากการท่องเที่ยวในประเทศ คือ อากาศบริสุทธิ์ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ
  14. ในปี 2556 ซึ่งจะมีวันช่วงหยุดยาวหลายช่วง มีส่วนช่วยกระตุ้นให้คนไทยอย่างไปเที่ยวมากขึ้น ร้อยละ 14.4 โดยร้อยละ 35.2 มีแผนการเดินทางท่องเที่ยวแล้ว โดยจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวภายในพื้นที่ก่อนร้อยละ 43.2 และเลือกเดินทางในจังหวัดใกล้เคียง ร้อยละ 42.3 ส่วนร้อยละ 13.6 จะเลือกไปในจังหวัดที่ไกล สำหรับประเภทแหล่งท่องเที่ยวที่อยากไปมากที่สุด คือ ทะเล รองมา คือ ไปทำบุญที่วัด
  15. การเข้าสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวจาก Website ของ ททท. ร้อยละ 8.0 เข้าดูเป็นประจำ ในขณะที่ร้อยละ 45.1 เข้าดูบ้างบางครั้ง และร้อยละ 46.9 ไม่รู้จักเว็บไซต์
  16. หากรัฐสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยววันธรรมดา คนไทยมองว่าจะส่งผลในระดับมากร้อยละ 5.9 และส่งผลในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.4
  17. สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวคนไทยนิยมเลือกเดินทางท่องเที่ยวเอง  ถึงร้อยละ 63.7  และเลือกเดินทางโดยซื้อทัวร์ ร้อยละ 5.3
  18. รูปแบบการท่องเที่ยวที่นิยม ส่วนใหญ่คือ การท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ การท่องเที่ยว ตามแหล่งลึกลับทางจิตวิญญาณหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ และการท่องเที่ยวตามแหล่งชนบท ดูวิถีชีวิต
  19. จากนโยบาย 300 บาท ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในด้านระยะเวลาในการท่องเที่ยวถึง ร้อยละ 72.3 รองลงมาส่งผลต่อความถี่ด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 66 และส่งผลต่อความสามารถในการจับจ่ายในการท่องเที่ยว ร้อยละ 49.4
  20. นโยบายรถคันแรกมีผลต่อการท่องเที่ยว ร้อยละ 13.9 และร้อยละ 1.5  มองว่า ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกิดการเดินทางมากขึ้น และร้อยละ 80 มองว่าไม่เปลี่ยนแปลงเลย
  21. สิ่งที่คนไทยคิดว่าบริษัททัวร์ควรปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการให้อยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน  คือ ควรปรับระดับราคาให้เหมาะสม รองลงมา คือ ควรมีบริการที่ดีเพื่อความประทับใจ และควรมีโปรโมชันดีๆ นำเสนอที่มีความหลากหลาย
  22. สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐดำเนินการในด้านการท่องเที่ยว คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวให้มากกว่านี้ รองลงมา คือ ควรมีการรักษาความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น และควรรักษาความสะอาดในสถานที่ท่องเที่ยวมากขึ้น
  23. สิ่งที่เป็นห่วงเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวของไทย มองว่าประเด็นด้านความปลอดภัยของผู้ท่องเที่ยวมีความน่ากังวลมากที่สุด รองลงมา คือ การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว และด้านสถานที่ ควรมีการอนุรักษ์ให้อยู่ในรูปแบบเดิม


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


chatchanok
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
การโรงแรมและการท่องเที่ยว


RCBAT-KM © 2013 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา 197 ถนนเพชรมาตุคลา ตำบลมะเริง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044 - 220866 โทรสาร 044 - 220867 E-mail rcbat.mail@rcbat.ac.th


Generated 0.051736 sec.